5 อับดับสวนสาธารณะเหมาะสำหรับการพักผ่อน ปอดแห่งเมืองกรุง

5 อับดับสวนสาธารณะเหมาะสำหรับการพักผ่อน ปอดแห่งเมืองกรุง

สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่พักผ่อนในวันสบายๆมาฝากกันค่ะ เรียกได้ว่าเป็นปอดของเมืองกรุงก็ได้ค่ะ

5 อับดับสวนสาธารณะเหมาะสำหรับการพักผ่อน ปอดแห่งเมืองกรุง มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

อันดับ 5 สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์

มีพื้นที่ประมาณ 196 – 3 -65 ไร่ เป็นสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนกำแพงเพชร 2 อยู่ติดกับสวนจตุจักรและสวนวชิรเบญจทัศ สร้างขึ้นเนื่องใน “วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถครบ 5 รอบ ซึ่งตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535” โครงการนี้ริเริ่มโดยคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2534 เปิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2539

 

 

อันดับ 4 สวนเสรีไทย

มีพื้นที่ประมาณ 350 ไร่ เป็นบึงสาธารณะเก่าแก่ขนาดใหญ่ที่ถูกรุกล้ำจนมีสภาพตื้นเขิน ในปี พ.ศ. 2528 เริ่มมีการปรับปรุงและพัฒนาบึงกุ่มตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการจัดหาพื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ (โครงการแก้มลิง) ให้เป็นบึงรับน้ำจนสามารถรองรับน้ำได้ถึง 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมประตูระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำ และระบายสู่คลองบึงกุ่ม ต่อเนื่องสู่คลองแสนแสบต่อไป[2] ต่อมาได้มีการพัฒนาขยายพื้นที่ สร้างเป็นสวนสาธารณะ และสวนป่าตามโครงการสวนป่ากทม. เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในชื่อว่า “สวนน้ำบึงกุ่ม”

 

อันดับ 3 สวนลุมพินี

มีพื้นที่ประมาณ 360 ไร่  เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 ล้อมรอบด้วยถนนวิทยุ ถนนราชดำริ และซอยสารสิน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ในที่ดินเดิมเนื้อที่ 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสำหรับสร้าง “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” เพื่อจัดแสดงสินค้าไทยเป็นครั้งแรก และจัดให้เป็น “สวนสาธารณะ” สำหรับประชาชน พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “สวนลุมพินี” ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาล

 

 

อันดับ 2 สวนวชิรเบญจทัศ

มีพื้นที่ประมาณ 375 ไร่ สวนวชิรเบญจทัศ เดิมเคยใช้เป็นสนามกอล์ฟรถไฟ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สร้างขึ้นตามมติของคณะรัฐมนตรีที่มี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีมติให้สร้างสวนสาธารณะขึ้นในส่วนของพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนทั่วไปและประชาชนในย่านใกล้เคียง โดยได้รับพระราชทานชื่อ สวนวชิรเบญจทัศ จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขณะดำรงพระอิสริยยศในพระราชสถานะสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระชนมายุครบ 50 พรรษา

 

อันดับ 1 สวนหลวง ร.9

มีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ เป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ อยู่ในแขวงหนองบอน เขตประเวศ ทางตะวันออกของกรุงเทพมหานคร จัดสร้างเพื่อสร้างเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ เป็นประธานออกแบบงานภูมิทัศน์ ส่วนหอรัชมงคลซึ่งจัดเป็นสัญลักษณ์สำคัญของสวนหลวง ร.9 ได้รับการออกแบบโดย ม.ล.ตรีทศยุทธ เทวกุล[1] ปัจจุบันมี หม่อมหลวงชนะพันธุ์ กฤดากร เป็นประธานคณะกรรมการบริหารสวนหลวง ร.๙

Leave a Reply

Your email address will not be published.Required fields are marked *