ภาวะการกลืนอาหารยากในผู้สูงอายุ

ภาวะการกลืนอาหารยากในผู้สูงอายุ

เรามักจะพบว่า “การกลืนอาหาร” ถือเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพราะเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายจะเสื่อมลง รวมทั้งการกลืนด้วย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้าง และหน้าที่การทำงานของช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร และกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน ส่งผลให้ความสามารถสำรองการกลืนในผู้สูงอายุลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะกลืนลำบากยิ่งขึ้น

สาเหตุของภาวะกลืนลำบากที่พบได้บ่อย

1. ผู้สูงอายุไม่มีฟัน กำลังกล้ามเนื้อที่จะใช้ในการบดเคี้ยวลดลง 
2. การเกิดที่คอหอย จะเกิดช้ากว่าวัยอื่น
3. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช รวมถึงโรคพาร์กินสัน ที่ทำให้กล้ามเนื้อมีภาวะเกร็ง ทำให้การกลืนอาหารยากขึ้น

วิธีแก้ปัญหาภาวะกลืนลำบาก…

1. รับประทานปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง
2. อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายและมีรสจืด
3. เลือกใช้ช้อนที่มีขนาดเล็กลงและหลุมไม่ลึก
4. กำหนดปริมาณอาหารต่อคำให้น้อยลง

เทคนิคช่วยกลืน คือ… ควรจัดท่าให้ศีรษะและลำตัวของผู้สูงอายุ สามารถชดเชยกลไกการกลืนที่บกพร่องไป เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการรับประทานอาหารทางปากมากขึ้น

คำแนะนำ… ผู้สูงอายุควรจะดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย ลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก โดยพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และเช็ดทำความสะอาดช่องปากและลิ้นหลังอาหารทุกมื้อ ดูแลเอาอาหารที่ค้างในปากออกให้หมด เพื่อเลี่ยงการเกิดเชื้อราในช่องปาก

Leave a Reply

Your email address will not be published.Required fields are marked *