การดูแลเท้าในผู้สูงอายุ

การดูแลเท้าในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุการดูแลเท้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่คอยรับน้ำหนัก ทำหน้าที่คอยพยุงร่างกาย และเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทมากมาย ปัญหาหนึ่งพอแก่ตัวลงอายุเพิ่มมากขึ้นแล้วมักจะพบ คือมีปัญหาเรื่องเท้าไม่มากก็น้อย ถ้าท่านลองคิดดูว่าในวันหนึ่งหนึ่ง มนุษย์เรายืน เดินหรือวิ่งโดยอาศัยเท้าทั้งสิ้นอย่างน้อยวันละ 6 ชม. ต้องเดินเป็นพันพันก้าว ถ้าคิดเป็นปีจะเดินมาแล้วมากมายขนาดไหนและถ้าเป็น 65 ถึง 70 ปีดังเช่นคนสูงอายุ ท่านคงจะตระหนักดีว่า เท้าได้ถูกใช้งานมากอย่าง การเสื่อมสลายตามสภาพการใช้งาน ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงหนีไม่พ้น

วันนี้ทาง Health Dome มีวิธีการดูแลเท้าด้วยวิธีง่ายๆมาฝากค่ะ

1.ดูแลสุขอนามัยของเท้า โดย

– ล้างเท้าทำความสะอาดทุกวัน ไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดหรือแช่เท้าในน้ำนานเกิน 10 นาที ใช้สบู่อ่อนที่มี moisturizer แล้วเช็ดด้วยผ้าขนหนูให้แห้งโดยเฉพาะระหว่างนิ้มเท้า อาจใช้ครีมโลชั่นทาหลังจากเช็ดแห้งแล้วแต่ต้องระวังไม่ใช้ครีมที่ซอกนิ้ว เพราะจะอับชื้นง่าย

– ตรวจเท้าและนิ้วเท้าทุกวัน สังเกตความผิดปกติ รอยกดแดง หรือรอยถลอก ใช้กระจกตรวจให้ทั่วทุกด้าน หรือให้ผู้ดูแลตรวจให้

– ตัดและตะไบเล็บให้เป็นแนวตรงด้วยความระมัดระวัง อย่าตัดเป็นรูปโค้งเข้ามุม ถ้าไม่ถนัด ให้ผู้ดูแลทำให้ ไม่ตัดตาปลาหรือส่วนหนังด้วยตนเอง

– ไม่สวมอะไรที่รัดส่วนขาหรือต้นขาแน่น เช่น ถุงน่อง หรือถุงเท้ารัด เพาะจะทำให้เท้าบวมง่าย

– ไม่ควรเดินเท้าเปล่า สำรวจเอาเศษผงออกจากรองเท้าก่อนสวมใส่ทุกครั้ง

– บริหารเท้าเป็นประจำโดยกระดกข้อเท้าขึ้น-ลง 10 ครั้ง แล้วหมุนข้อเท้าเป็นวงกลม 5 ครั้ง x 2 รอบต่อวัน กรณีปวดเท้าให้แช่น้ำอุ่นประมาณ 10 นาที แล้วนวดฝ่าเท้าเบาๆ ก็จะทุเลาได้

– เดินออกกำลังกายสม่ำเสมอ บริเวณที่เดินควรเป็นพื้นเรียบ ไม่ขรุขระหรือลาดเอียง

2.ใช้รองเท้าที่เหมาะสม

-ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงส้นสูงเกิน 1 นิ้ว (จะทำให้ปวดเท้า ปวดเข่า ปวดหลัง และลื่นล้มง่าย) หรือรองเท้าหัวแหลม (จะทำให้ปวดนิ้วเท้า หรือกระตุ้นให้นิ้วหัวแม่เท้าเกเข้าด้านในมากขึ้น)

– ควรเลือกซื้อรองเท้าช่วงเวลาเย็นเพราะเท้ามักจะขยายบวมในตอนบ่าย

– เลือกรองเท้าที่มีรูปทรงลักษณะเดียวกับรูปเท้าและพิจารณาให้มีส่วนประกอบที่เหมาะสม

– สำหรับผู้ที่มีปลายประสาทบกพร่องหรือชาเท้า ต้องระวังการลองขนาดรองเท้าเพราะจะรู้สึกว่าไม่พอดีจนกระทั่งสวมรองเท้าเบอร์เล็กจนคับเกินไป ขนาดรองเท้าที่พอดีคือมีส่วนยาวเผื่อประมาณ 3/8 ถึง ครึ่งนิ้ว ความกว้างมากพอรับกับส่วนที่กว้างที่สุดของเท้า ส่วนพื้นรองเท้ามั่นคง ไม่ลื่น ด้านบนนุ่ม สามารถปรับขยายส่วนหลังเท้าได้ นอกจากนั้นต้องหมั่นตรวจรองเท้าว่ายังใช้ได้ดี และเปลี่ยนรองเท้าเมื่อพบว่ามีการสึกหรือชำรุด

เห็นไหมละค่ะว่าไม่ยากเลย เพียงเท่านี้คุณก็จะมีสุขภาพเท้าที่ดีแล้วค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.Required fields are marked *